ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย

การรถไแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: รฟท.อังกฤษState Railway of Thailand ; SRT) เป็นรัฐวิสาหกิจในกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่ดูแลกิจการด้านรถไฟของประเทศไทย มีทางรถไฟอยู่ภายใต้ขอบเขตดำเนินการทั้งหมด 4,070 กิโลเมตร

ทางรถไฟในประเทศถูกระเบิดได้รับความเสียหายเป็นอันมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้มีความต้องการกู้เงินจากต่างประเทศ ธนาคารโลกซึ่งเป็นเจ้าหนี้ บีบให้แปรรูปกรมรถไฟเป็นรัฐวิสาหกิจในปี 2494 สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามและมีการตราพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ขึ้น ส่งผลทำให้ผู้บริหารของกรมรถไฟซึ่งนับเป็นส่วนราชการที่มีบุคลากรที่มีคุณภาพ ที่เดิมเคยเลื่อนตำแหน่งมาเป็นปลัดกระทรวงคมนาคมและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันกิจการรถไฟ ต้องกลายมาเป็นเพียงแค่ผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย เท่านั้น ทำให้ขาดเส้นทางอาชีพที่จะผลักดันความก้าวหน้ากิจการรถไฟ[2]

รฟท. เป็นรัฐวิสาหกิจของไทยที่มีผลการดำเนินงานขาดทุนมากที่สุด คือ 7,584 ล้านบาท[3]

 

 

ประวัติ[แก้]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ จากนั้นในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระองค์ได้เสด็จฯ ทรงเปิดการเดินรถไฟ สายกรุงเทพ-นครราชสีมา เส้นทางรถไฟสายแรกของประเทศสยาม กรมรถไฟจึงถือเอาวันที่ 26 มีนาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟจนถึงปัจจุบัน[4]

เนื่องจากการล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสบริเวณเหลมอินโดจีน พระองค์ท่านทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคม โดยเส้นทางรถไฟ เพราะการใช้แต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นพื้นนั้น ไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต ราษฎรที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงมีจิตใจโน้มเอียงไปทางประเทศใกล้เคียง สมควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนก่อนอื่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกรานเป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิกพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ และจะเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปมาถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำเนินการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา และมีทางแยกตั้งแต่เมืองลพบุรี – เชียงใหม่ สายหนึ่ง จากเมืองอุตรดิตถ์ – ตำบลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงสายหนึ่ง และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย เชียงแสนหลวงอีกสายหนึ่ง โดยทำการสำรวจให้แล้วเสร็จเป็นตอน ๆ รวม 8 ตอน ในราคาค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ 100 ปอนด์ ทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2430[5]

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้กระทรวงโยธาธิการว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก เป็นทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร และได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการ สร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 ซึ่งปัจจุบัน การรถไฟฯได้สร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกเหตุการณ์สำคัญในอดีต และเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2534 โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเสด็จมาทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อจาก “กรมรถไฟ” เป็น “กรมรถไฟหลวง” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลสำคัญที่ผลักดันให้กิจการรถไฟของไทยเติบใหญ่อย่างมั่นคงในเวลาต่อมา คือ นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ที่ตรินีตี้คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้รับฉายาว่าพระบิดาแห่งการรถไฟไทย โดยปี 2453 ได้รักษาการตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟสายเหนือ ต่อมาได้รวมกรมรถไฟสายเหนือกับสายใต้เข้าด้วยกันเป็นกรมรถไฟหลวงเมื่อปี 2460 ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงพระองค์แรก การที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอย่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ มาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงสมัยนั้น ดูเหมือนจะเป็นพระราชประสงค์จำนงหมายไว้แต่เดิมมากกว่าเป็นการบังเอิญเนื่องแต่สงคราม เพราะเมื่อทรงแต่งตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ให้เป็นผู้บัญชาการในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2460 แล้วนั้น ต่อมาในเดือนพฤจิกายน พ.ศ.เดียวกัน ก็ได้มีพระราชหัตถเลขาเป็นส่วนพระองค์แสดงความในพระราชหฤทัยที่ทรงมีอยู่ (พระราชหัตถเลขาลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460) ทรงกล่าวว่า

“รู้สึกว่า ราชการกรมรถไฟ เป็นราชการสำคัญและมีงานที่ต้องทำมาก เพราะเต็มไปด้วยความยุ่งยาก และฉันรู้สึกว่าเป็นเคราะห์ดีอย่างยิ่งที่ฉันได้เลือกให้ตัวเธอเป็นผู้บัญชาการรถไฟ และอาจพูดได้โดยไม่แกล้งยอเลยว่า ถ้าเป็นผู้อื่นเป็นผู้บัญชาการ การงานอาจยุ่งเหยิงมากจนถึงแก่เสียทีได้ทีเดียว เมื่อความจริงเป็นอยู่เช่นนี้ ฉันจึงได้มารู้สึกว่า

1) การงานกรมรถไฟไม่ใช่เป็นของที่จะวานให้เธอทำเป็นชั่วคราวเสียแล้ว จะต้องคิดอ่านเป็นงานแรมปี….

2) ฉันเห็นว่า เธอควรจะต้องให้เวลาและกำลังส่วนตัวสำหรับกิจการรถไฟนี้มากกว่าอย่างอื่น….

จึงขอบอกตามตรง และเธอต้องอย่าเสียใจว่าในขณะนี้ เธอมีหน้าที่ราชการหลายอย่างเกินไป จนทำให้ฉันนึกวิตกว่า ภถึงแม้เธอจะเต็มใจรับทำอยู่ทั้งหมดก็ดี แต่กำลังกายของเธอจะไม่ทนไปได้ จริงอยู่ฉันได้ยินเธอกล่าวอยู่เสมอว่า “ยอมถวายชีวิต” แต่ฉันขอบอกอย่างดื้อๆ เพราะฉันรักเธอว่า ฉันไม่ต้องการชีวิตของเธอ ฉันต้องการใช้กำลังความสามารถของเธอมากกว่า”

ต่อมาได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงเศรษฐการ พุทธศักราช 2476

มาตรา 18 กรมรถไฟ แบ่งส่วนราชการ ดั่งนี้[6]

ก.ราชการกลาง

1. สำนักงานเลขานุการกรม แบ่งเป็น 2 แผนก คือ

(1) แผนกบัญชาการฝ่ายธุรการและกฎหมาย (2) แผนกสถิติ

2. กองการเดินรถ แบ่งเป็นดั่งนี้ คือ

(1) ฝ่ายลากเลื่อน แบ่งเป็น 2 แผนก คือ

ก. แผนกเดินรถ
ข. แผนกช่างกล
(2) ฝ่ายพาณิชยการ แบ่งเป็น 4 แผนก คือ

ก. แผนกโดยสาร
ข. แผนกสินค้าและศิลา
ค. แผนกโฮเต็ล บ้านพักและรถเสบียงและที่ดิน
ง. แผนกโฆษณาการ
(3) แผนกกลาง แบ่งเป็น 2 หมวด คือ

ก. หมวดอบรม
ข. หมวดสารบรรณ

3. กองการช่าง แบ่งเป็นดั่งนี้

(1) ฝ่ายบำรุงทางและสถานที่ แบ่งเป็น 2 แผนก คือ

ก. แผนกโทรเลขโทรศัพท์และอาณัติสัญญาณ
ข. แผนกบำรุงทางสถานที่
(2) ฝ่ายโรงงาน แบ่งออกเป็น 4 แผนก คือ

ก. แผนกรถจักร
ข. แผนกรถโดยสารและรถบรรทุก
ค. แผนกโรงจักร
ง. แผนกไฟฟ้า
(3) ฝ่ายก่อสร้าง แบ่งออกเป็น 2 แผนก คือ

ก. แผนกสำรวจ
ข. แผนกก่อสร้าง
(4) ฝ่ายพัสดุ แบ่งออกเป็น 2 แผนก คือ

ก. แผนกซื้อและรับของ
ข. แผนกเก็บและจ่าย
(5) แผนกแบบแผน แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ

ก. หมวดออกแบบ
ข. หมวดโรงพิมพ์
ค. หมวดรักษากรรมสิทธิ์ที่ดิน
(6) แผนกกลาง แบ่งออกเป็น 2 หมวด คือ

ก. หมวดอบรม
ข. หมวดสารบรรณ

4. กองบัญชี แบ่งเป็นดั่งนี้

(1) ฝ่ายรวบรวมบัญชี แบ่งเป็น 3 แผนก คือ

ก. แผนกบัญชีทางเปิด
ข. แผนกบัญชีพัสดุ
ค. แผนกบัญชีก่อสร้าง
(2) ฝ่ายคลังเงินและตั๋ว แบ่งเป็น 2 แผนก คือ

ก. แผนกคลังเงิน
ข. แผนกตั๋วโดยสาร
(3) ฝ่ายตรวจบัญชี แบ่งเป็น 4 แผนก คือ

ก. แผนกตรวจบัญชีต่างประเทศ
ข. แผนกตรวจบัญชีรายได้
ค. แผนกตรวจบัญชีโดยสาร
ง. แผนกตรวจบัญชีค่าระวาง
(4) แผนกกลาง

ข. ราชการท้องถิ่น

1. ราชการท้องถิ่นที่ขึ้นแก่กองเดินรถ คือ

(ก) แผนกเดินรถพาณิชยการภาคกลาง แบ่งออกเป็น 3 แขวง คือ

1. แขวงกรุงเทพ ฯ
2. แขวงปราจีนบุรี
3. แขวงเพชรบุรี
(ข) แผนกเดินรถพาณิชยการภาคตะวันออก แบ่งออกเป็น 3 แขวง คือ

1. แขวงโคราช
2. แขวงลำชี
3. แขวงขอนแก่น
(ค) แผนกเดินรถพาณิชยการภาคเหนือ แบ่งออกเป็น 3 แขวง คือ

1. แขวงปากน้ำโพ
2. แขวงอุตรดิตถ์
3. แขวงนครลำปาง
(ง) แผนกเดินรถพาณิชยการภาคใต้ แบ่งออกเป็น 3 แขวง คือ

1. แขวงชุมพร
2. แขวงทุ่งสง
3. แขวงหาดใหญ่

2. ราชการท้องถิ่นที่ขึ้นแก่กองการช่าง คือ

(ก) แผนกบำรุงทางสถานที่ภาคกลาง แบ่งเป็น 3 แขวง คือ

1. แขวงกรุงเทพ ฯ
2. แขวงปราจีนบุรี
3. แขวงเพชรบุรี
(ข) แผนกบำรุงทางสถานที่ภาคตะวันออก แบ่งเป็น 3 แขวง คือ

1. แขวงโคราช
2. แขวงลำชี
3. แขวงแก่งคอย
(ค) แผนกบำรุงทางสถานที่ภาคเหนือ แบ่งเป็น 3 แขวง คือ

1. แขวงปากน้ำโพ
2. แขวงลำปาง
3. แขวงอุตรดิตถ์
(ง) แผนกบำรุงทางสถานที่ภาคใต้ แบ่งเป็น 4 แขวง คือ

1. แขวงชุมพร
2. แขวงทุ่งสง
3. แขวงหาดใหญ่
4. แขวงยะลา

ใน พ.ศ. 2484 การคมนาคมก็ได้ถูกปรับปรุงให้กลับมาเป็นกระทรวงคมนาคมตามเดิม ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2484 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2484 มีการแบ่งส่วนราชการ กระทรวงคมนาคม ดังนี้[7]

  1. สำนักเลขานุการรัฐมนตรี
  2. สำนักงานปลัดกระทรวง
  3. กรมการขนส่ง (กองการบินพาณิชย์เดิม สังกัดกระทรวงเศรษฐการ)
  4. กรมเจ้าท่า (โอนจากกระทรวงเศรษฐการ)
  5. กรมไปรษณีย์โทรเลข (โอนจากกระทรวงเศรษฐการ)
  6. กรมทาง (เดิมเป็นกองทางสังกัด กรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย)
  7. กรมรถไฟ (โอนจากกระทรวงเศรษฐการ)

เครื่องแบบ[แก้]

ได้มีการกำหนดลักษณะเครื่องแบบและสิ่งประกอบสำหรับเครื่องแบบของข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์กรมรถไฟ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2482 โดยได้มีการออกกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 เรื่อยมา แต่ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยของรัฐบาลที่เข้ามาบริหาร ตามตัวอย่างดังต่อไปนี้

กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 38 (พ.ศ. 2491) (ว่าด้วยเครื่องแบบพนักงานกรมรถไฟ) ออกกฎโดยรัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรี[8]

  • ข้อ 1 เครื่องแบบสำหรับพนักงานกรมรถไฟ มี 2 ชนิด คือ
ก. เครื่องแบบสีกากี
ข. เครื่องแบบสีน้ำเงิน
  • ข้อ ๒ เครื่องแบบสีกากี ประกอบด้วย
(1) หมวกทรงหม้อตาลสีกากี กะบังหน้าสีดำ มีผ้าพันหมวกสีดำขนาดกว้าง 5 เซนติเมตรพันรอบหมวกสายรัดคางสีน้ำตาล มีดุมดำด้วยวัตถุสีน้ำตาลแก่ติดข้างหมวกสำหรับติดสายรัดคางข้างละ 1 ดุม ที่หน้าหมวกติดรูปครุฑพ่าห์ หรือ หมวกกันแดดแบบราชการสีกากี มีสายรัดคางและหน้าหมวกเช่นเดียวกับหมวกทรงหม้อตาล แต่ให้มีขลิบสีดำ ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ไว้ตอนบนของผ้าพันหมวก

กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2494) (ว่าด้วยเครื่องแบบพนักงานกรมรถไฟ) ออกกฎโดยรัฐบาลของจอมพล ป พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี[9]

  • ข้อ 3 เครื่องแบบพนักงานกรมรถไฟ มี 3 ชนิด คือ
(1) เครื่องแบบขาว
(2) เครื่องแบบกากี
(3) เครื่องแบบน้ำเงิน
  • ข้อ 4 เครื่องแบบขาว ประกอบด้วย
(1) หมวกทรงหม้อตาลขาว กะบังหน้าหนังดำ มีผ้าพันหมวกดำทำด้วยสักหลาดขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร พันรอบหมวก สายรัดคางไหมสีทอง มีดุมดุนเป็นรูปรถจักรทำด้วยโลหะสีทอง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตรติดข้างหมวกสำหรับติดสายรัดคางข้างละ 1 ดุม มีหน้าหมวกทำด้วยโลหะสีทองเป็นรูปหน้าหม้อรถจักร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 เซนติเมตร มีลายกนกโดยรอบตามทางกว้าง 5 เซนติเมตร ตามทางสูง 6 เซนติเมตร ภายในวงกลมหน้าหม้อรถจักร มีอุนาโลมอยู่ภายใต้บัวกนก รอบวงกลมมีอักษรว่า “รัฐพาณิชย์ กรมรถไฟ” ภายใต้มีสาบแดงหรือหมวกกันแดดแบบราชการขาว มีสายรัดคางและโลหะติดหน้าหมวกเช่นเดียวกับหมวกทรงหม้อตาล แต่ให้มีขลิบดำขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ไว้ตอนบนของผ้าพันหมวก
(2) เสื้อเชิ้ตกากีแขนยาวไม่พับปลายแขนหรือแขนสั้นมีอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อเช่นเดียวกับเครื่องแบบขาว มีกระเป๋าที่อกเสื้อข้างละ 1 กระเป๋า มีใบปกเป็นรูปมนชายกลางแหลม มีดุมโลหะตามข้อ 4 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร ที่ปากกระเป๋าข้างละ 1 ดุมที่อกเสื้อ 5 ดุมและที่ปลายแขนสำหรับเสื้อแขนยาวข้างละ 1 ดุม หรือเสื้อกากีคอปิดแบบคอเชิ้ต แขนยาวข้อมือรวบ ปล่อยเอว ผ่าอกตลอด สวมทับกางเกง มีดุมชนิดและขนาดเช่นเดียวกับเครื่องแบบขาวที่อกเสื้อ ๕ ดุม มีกระเป๋าเย็บติดภายนอกเป็นกระเป๋าบนและล่างอย่างละ 2 กระเป๋า กระเป๋าบนมีใบปกรูปมนชายกลางแหลม มีแถบกว้าง 3.5 เซนติเมตรตรงกึ่งกลางกระเป๋าทางดิ่ง กระเป๋าล่างเป็นกระเป๋าย่าม มีใบปกรูปตัด ที่ปากกระเป๋าทั้ง 4 กระเป๋าและที่ปลายแขนเสื้อติดดุมขนาด 16 มิลลิเมตร ข้างละ 1 ดุม ที่เอวคาดเข็มขัดทำด้วยผ้าสีเดียวกับเสื้อขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร หัวสี่เหลี่ยมหุ้มผ้าสีเดียวกัน กับมีอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อทั้ง 2 ข้าง สำหรับติดดุมและเครื่องหมายชั้นเช่นเดียวกับเครื่องแบบขาว
(3) กางเกงกากีขายาวไม่พับปลายขา เมื่อใช้เสื้อเชิ้ตให้สวมทับเสื้อและคาดเข็มขัดหนังสีน้ำตาล กว้าง 3.5 เซนติเมตร หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีทอง เป็นรูปวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร ภายในวงกลมดุนเป็นรูปรถจักร และรอบวงกลมมีอักษรว่า “รัฐพาณิชย์กรมรถไฟ”
(4) รองเท้าดำหรือสีน้ำตาล พร้อมด้วยถุงเท้าสีเดียวกัน
  • ข้อ 6 เครื่องแบบน้ำเงิน ประกอบด้วยหมวก เสื้อและกางเกงเช่นเดียวกับเครื่องแบบกากีชนิดเสื้อเชิ้ต เว้นแต่เปลี่ยนสีจากกากีเป็นน้ำเงิน และ
(1) หมวกให้ใช้แต่หมวกทรงหม้อตาล สายรัดคางดำ
(2) เข็มขัดทำด้วยหนังดำ
(3) รองเท้าให้ใช้ได้เฉพาะรองเท้าดำ
  • ข้อ 7 ให้มีเครื่องหมายชั้นแสดงไว้บนอินทรธนูทั้ง 2 ข้าง ดั่งต่อไปนี้
ชั้นจัตวา มีรูปล้อปีกทำด้วยโลหะสีทอง 1 อัน ติดทางด้านไหล่
ชั้นตรี มีรูปล้อปีกเช่นเดียวกับชั้นจัตวา แต่มีโลหะสีทองทำเป็นรูปดอกจันสี่กลีบ ติดเรียงจากล้อปีก 1 อัน
ชั้นโท เช่นเดียวกับชั้นตรี แต่เพิ่มดอกจันเป็น 2 ดอก ติดเรียงกันไปตามด้านยาวของอินทรธนู
ชั้นเอก เช่นเดียวกับชั้นโท แต่เพิ่มดอกจันเป็น 3 ดอก ติดเรียงกันไป
ชั้นพิเศษ ที่มิได้ดำรงตำแหน่งอธิบดี ที่ปรึกษา รองอธิบดี วิศวกรใหญ่ หรือผู้อำนวยการฝ่าย เช่นเดียวกับชั้นตรี แต่มีพระมหามงกุฎยอดมีรัศมี ทำด้วยโลหะสีทองอยู่เหนือดอกจัน
ชั้นพิเศษ ที่ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา รองอธิบดี วิศวกรใหญ่ และผู้อำนวยการฝ่าย เช่นเดียวกับชั้นโท แต่มีพระมหามงกุฎยอดมีรัศมี ทำด้วยโลหะสีทองอยู่เหนือดอกจัน
ส่วนอธิบดี ให้เพิ่มดอกจันติดเรียงจากดอกจันใต้พระมหามงกุฎ 1 ดอก
  • ข้อ 8 เครื่องหมายสังกัด สำหรับเครื่องแบบขาว ให้ติดที่คอเสื้อ สำหรับเครื่องแบบกากี และเครื่องแบบน้ำเงินให้ติดที่ปกคอเชิ้ตทั้ง 2 ข้าง โดยใช้โลหะทำเป็นรูปวงกลมขนาด

เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.3 เซนติเมตร มีฟันเฟืองรอบวงกลม ภายในวงกลมมีอักษรย่อแสดงฝ่ายที่สังกัด ดังนี้

ฝ่ายธุรการ ใช้ ธ.ก.
ฝ่ายการเดินรถ ใช้ ด.ร.
ฝ่ายการบัญชี ใช้ บ.ช.
ฝ่ายการช่างกล ใช้ ช.ก.
ฝ่ายการช่างโยธา ใช้ ย.ธ.
  • ข้อ 9 พนักงานฝ่ายการช่างกลขณะปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับเครื่องจักรเครื่องกล ให้ใช้เครื่องแบบน้ำเงินพนักงานฝ่ายอื่นตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 ขณะทำการตามหน้าที่ให้ใช้เครื่องแบบกากี
  • ข้อ 10 พนักงานขับรถ ให้มีอักษรย่อ “พ.ข.ร.” ทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง 1.5 เซนติเมตรติดที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าด้านซ้าย
  • ข้อ 11 พนักงานรักษารถ และพนักงานขบวนรถขณะปฏิบัติการตามหน้าที่ให้ใช้เครื่องแบบกากีชนิดเสื้อเชิ้ตผ้าพันหมวกขาว และเฉพาะพนักงานรักษารถให้มีอักษรย่อ “พ.ร.ร.”ทำด้วยโลหะสีทองขนาดสูง 1.5 เซนติเมตร ติดที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าด้านซ้าย
  • ข้อ 12 นายสถานีหรือผู้ช่วยนายสถานีให้ใช้ผ้าพันหมวกแดง

การเปลี่ยนจากส่วนราชการเป็นรัฐวิสาหกิจ[แก้]

ในสมัยรัฐบาลที่มีจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เลขที่ 40 หมวด ก ฉบับพิเศษ ลงในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494[10] และให้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ดังนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภค สังกัดกระทรวงคมนาคม และให้มีการโอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ หน้าที่ต่างๆ รวมไปถึงข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ ลูกจ้าง และสายงานทั้งหมด ของกรมรถไฟไปอยู่ในการดำเนินงานของ การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมี หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) เป็นผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทยคนแรก และเป็นอธิบดีกรมรถไฟคนสุดท้าย

การปรับปรุง[แก้]

เครื่องหมายราชการของกรมรถไฟหลวง

เครื่องหมายราชการกรมรถไฟ ประกาศใช้และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 15 เล่มที่ 59 ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2485

พนักงานข้าราชการกรมรถไฟหลวง 2477

พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน

หลังจากที่รถไฟไทยได้รับเสียงวิจารณ์ด้านลบอย่างมาก ทั้งในแง่ของการเดินรถช้า อุปกรณ์เก่าและขาดการซ่อมบำรุง จึงมีความพยายามจากหลายภาคส่วนในการปรับปรุงระบบรถไฟหรือแปรรูปเป็นเอกชน แต่หลายๆครั้งก็ถูกคัดค้านโดยสหภาพการรถไฟ

ในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการดำเนินการประมูลสร้างรถไฟทางคู่จากฉะเชิงเทราถึงแหลมฉบัง คิดเป็นระยะทาง78กิโลเมตร ตามมาด้วยรถไฟรางคู่จากคลองสิบเก้าถึงชุมทางแก่งคอย และทางคู่ขางนครปฐมถึงหัวหิน ในปี พ.ศ. 2553 โครงการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกำลังจะเกิดขึ้น ทำให้เกิดโครงการรถไฟรางคู่จากนครราชสีมาถึงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว โดยเริ่มจากสถานีรถไฟนครราชสีมาถึงสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ โครงการรถไฟรางคู่มีเป้าหมายสูงสุดที่การปรับปรุงสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ รวมเป็นระยะทางทั้งหมด 832 กิโลเมตร[11]

ในปี พ.ศ. 2555 การรถไฟได้ทยอยเปิดประมูลซื้อหัวรถจักรใหม่ 70 คัน และรถโดยสาร 115 คัน คิดเป็นมูลค่ารวม 19,406.4ล้านบาท [12] โดยการโครงการจัดซื้อถูกกระตุ้นจากเหตุรถไฟตกรางต่อเนื่องสามเหตุการณ์ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 ถึงต้นปี พ.ศ. 2555

รายพระนามและรายนามเจ้ากรมรถไฟ ผู้บัญชาการกรมรถไฟ อธิบดีกรมรถไฟ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย[แก้]

ลำดับ รูป รายนามเจ้ากรมรถไฟ ดำรงตำแหน่ง
1 Coat of Arms of Siam (1873-1910).svg นายเค. เบธเก้ พ.ศ. 2439 – พ.ศ. 2442
2 Coat of Arms of Siam (1873-1910).svg นายเอช. เกอร์ธ พ.ศ. 2442 – พ.ศ. 2447
3 Coat of Arms of Siam (1873-1910).svg นายแอล ไวเลอร์(สายเหนือ) 1 ก.ค. 2447 – 5 มิ.ย.2460
4 Coat of Arms of Siam (1873-1910).svg นายเอช กิตตินส์(สายใต้) 1 มิ.ย. 2452 – 31 พ.ค.2460
ลำดับ รูป รายพระนาม และนามผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ดำรงตำแหน่ง
1 พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร.jpg พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน พ.ศ. 2460 – พ.ศ. 2469
2 Sansas.gif พระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์ ( สรรเสริญ สุขยางค์​ ) 8 ก.ย. 2471 – 9 ส.ค.2475
3 Kanbanchong.jpg พระยาสฤษดิการบรรจง(สมาน ปันยารชุน) พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2476
4 Pakit.jpg พระยาประกิตกลศาสตร์ 1 เม.ย. 2476 – 24 ก.ย.2476
5 Prawitsadar-1.jpg นายพันเอก พระวิสดารดุลยะรัถกิจ (เชย พันธุ์เจริญ) พ.ศ. 2476 – พ.ศ..2477
ลำดับ รูป รายนามอธิบดีกรมรถไฟ ดำรงตำแหน่ง
1 Praudom.jpg พล.ต.พระอุดมโยธาธิยุต พ.ศ. 2477 – พ.ศ. 2479
2 หลวงเสรีเริงฤทธิ์.jpg หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) 1 ก.พ. 2479 – 10 มี.ค. 2485
3 Kuang.jpg พันตรี ควง อภัยวงศ์ มี.ค. 2485 – ก.ค. 2485
4 Chalor.jpg พ.อ.ขุนศรีศรากร (ชลอ ศรีศรากร) พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2486
5 Praudom.jpg พล.ต.พระอุดมโยธาธิยุต 17 ก.ย. 2486 – 2 พ.ย. 2486
6 Jarun sube.jpg นายจรูญ สืบแสง 2 พ.ย. 2486 – 15 ก.พ. 2488
7 Pun.jpg นายปุ่น ศกุนตนาค 19 ธ.ค. 2488 – 11 พ.ย. 2492
8 หลวงเสรีเริงฤทธิ์.jpg พลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ 11 พ.ย. 2492 – 30 มิ.ย. 2494
ลำดับ รูป รายนามผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ดำรงตำแหน่ง
1 หลวงเสรีเริงฤทธิ์.jpg พลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ 1 ก.ค. 2494 – 10 ก.ย. 2502
2 GelSawai.jpg พลเอกไสว ไสวแสนยากร 11 ก.ย. 2502 – 31 ธ.ค. 2507
3 RSR GOV1967.jpg พันเอกแสง จุละจาริตต์ 1 ม.ค. 2508 – 24 ก.พ. 2514
4 Arna.jpg นายอะนะ รมยานนท์ 25 ก.พ. 2514 – 31 ธ.ค. 2516
5 Tuan.jpg พลโททวน สริกขกานนท์ 1 ม.ค. 2517 – 1 พ.ค. 2519
6 GovSanga.jpg นายสง่า นาวีเจริญ 8 มิ.ย. 2519 – 30 เม.ย. 2522
7 GovTawat.jpg นายธวัช แสงประดับ 1 พ.ค. 2522 – 26 ก.ค. 2525
8 Banyong.jpg นายบันยง ศรลัมพ์ 27 ก.ค. 2525 – 30 ก.ย. 2529
9 Hirun.jpg นายหิรัญ รดีศรี 1 ต.ค. 2529 – 10 ธ.ค. 2531
10 Sherd.jpg นายเชิด บุณยะรัตนเวช 11 ธ.ค. 2531 – 31 ก.ค. 2532
11 GovSomchai.jpg นายสมชาย จุละจาริตต์ 1 ส.ค. 2532 – 28 ก.พ. 2535
12 Gov.Sommai.jpg นายสมหมาย ตามไท 1 มี.ค. 2535 – 29 ส.ค. 2537
13 Gov.sa.Photo.jpg นายเสมอ เชาว์ไว 30 ส.ค. 2537 – 30 ก.ย. 2539
14 Sarawoot tham.jpg นายสราวุธ ธรรมศิริ 1 ต.ค. 2539 – 2545
15 Jitsanti.jpg ดร.จิตต์สันติ ธนะโสภณ พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2549
16 Yuthana.jpg นายยุทธนา ทัพเจริญ พ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2555
17 Prapas chongsanguan.jpg นายประภัสร์ จงสงวน พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน

หน่วยงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยในภูมิภาค[แก้]

การรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน่วยการเดินรถไฟกระจายอยู่ทั้ง 4 ภูมิภาคของแต่ละภาคโดยมีทั้งสิ้น 3 เขตลากเลื่อน

  • กองลากเลื่อนเขตนครราชสีมา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
  • กองลากเลื่อนเขตอุตรดิตถ์ (ภาคเหนือ)
  • กองลากเลื่อนเขตหาดใหญ่ (ภาคใต้)

เส้นทางเดินรถ[แก้]

 [ขยาย

 •  • 

การรถไฟแห่งประเทศไทย

ปัจจุบันการรถไฟฯ มีระยะทางที่เปิดการเดินรถแล้ว รวมทั้งสิ้น 4,346 กิโลเมตร โดยเป็นทางคู่ช่วง กรุงเทพ – รังสิต ระยะทาง 31 กิโลเมตร และเป็นทางสามช่วง รังสิต – ชุมทางบ้านภาชี ระยะทาง 59 กิโลเมตร โดยมีเส้นทาง ดังนี้

และการรถไฟฯ ยังได้เปิดเดินเส้นทางรถไฟฟ้าจำนวน 1 เส้นทาง ระยะทาง 28.6 กิโลเมตร โดยให้บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด (SRT Electrified Train Co., Ltd. หรือ SRTET) ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ก่อตั้งขึ้นโดยได้รับความร่วมมือจาก Deutsche Bahn AG ประเทศเยอรมนี เป็นผู้ดำเนินการในการเดินรถ โดยเส้นทางดังกล่าวคือ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

นอกจากนั้นยังมีการสร้างทางอีกหลายเส้นทาง อาทิ สถานีรถไฟชุมทางคลองสิบเก้า – สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี – สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย – สถานีรถไฟศรีราชา – สถานีรถไฟแหลมฉบัง – สถานีรถไฟชุมทางเขาชีจรรย์ – สถานีรถไฟมาบตาพุด และโครงการรถไฟฟ้าอีกสองเส้นทางคือ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ศาลายา – หัวหมาก) และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต – มหาชัย) หรือเรียกรวมๆ ได้ว่า โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)

นอกจากนี้ยังมีโครงการปรับปรุงรางที่สำคัญมากๆต่อการพัฒนารางคือ ขยาย รางให้เป็นรางคู่เพื่อให้สามารถทำความเร็วได้มากขึ้นลดเวลาการเดินทาง จุโบกี้สินค้าได้มากขึ้น จุผู้โดยสารได้มาก และประหยัดพลังงานมากขึ้นเนื่องจาก การขนส่ง เที่ยวหนึ่ง สามารถจุคนสินค้าได้มากกว่ารถยนต์ ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการพัฒนาปรับปรุงการขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพและดีขึ้นซึ่งปัจจุบันรางเดี่ยวไม่เหมาะที่จะขนส่งอีกต่อไป ซึ่งรางเดี่ยวจะเสียต้นทุนมาก โครงการที่สำคัญๆ ที่จะสร้าง คือ ชุมทางสระบุรีไป ปากนำโพ 118กม นครปฐมไปหัวหิน 165 กม มาบกะเบา ไป ชุมทางจิระ132 กม และ จิระไปขอนแก่น 185กม ประจวบ คีรีขันธ์ไปชุมพร 167กม โครงการเฟสแรกรวม 767 กม

กิจการอื่น[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

ปี 2465 พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งขณะนั้นทรงเป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ได้ทรงจัดตั้ง “กองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าว กรมรถไฟหลวง” เพื่อทำหน้าที่ผลิตภาพยนตร์ข่าวสารและสารคดีเผยแพร่กิจการของกรมรถไฟหลวง ตลอดจนกิจการของกระทรวงทบวงกรมอื่นๆ ทั้งมวล รวมไปถึงบริการรับจ้างผลิตภาพยนตร์ให้แก่เอกชนทั่วไปด้วย นับได้ว่าเป็นการจัดตั้งหน่วยงานผลิตภาพยนตร์อย่างเป็นกิจลักษณะและใหญ่โตระดับชาติ กองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าวได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์ผลิตภาพยนตร์ ข่าวสารและสารคดีของชาติ การที่มีกองผลิตภาพยนตร์ในกรมรถไฟหลวงก็เพื่อสร้างภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ให้ คนไทยและชาวต่างประเทศนิยมท่องเที่ยวโดยใช้บริการของรถไฟ เพราะในขณะนั้นรถไฟเป็นสิ่งใหม่ สร้างภาพยนตร์ขึ้นมาเพื่อให้เห็นสถานที่น่าท่องเที่ยวต่างๆของไทย กรมรถไฟหลวงจึงกลายเป็นโรงเรียนในการสร้างคนที่จะผลิตภาพยนตร์เรื่องของไทยต่อไปในอนาคต ต่อมาเมื่อกิจการสร้างภาพยนตร์เรื่องบันเทิงของไทยเกิดขึ้นในปี 2470 ก็ได้อาศัยบุคลากรและอุปกรณ์ของกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าวนี้เองเป็นฐานสำคัญ เมื่อเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองประเทศตั้งแต่ปี 2475 แล้ว กิจการของกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง ค่อยๆลดบทบาทลง เพราะรัฐบาลใหม่ในระบอบประชาธิปไตย ได้จัดตั้งกรมโฆษณาการ (คือ กรมประชาสัมพันธ์ในเวลาต่อมา) และตั้งแผนกภาพยนตร์ขึ้นในสำนักงานนี้ เพื่อทำหน้าที่ผลิตภาพยนตร์เผยแพร่กิจการของรัฐบาล ผลงานภาพยนตร์บางส่วนของกรมรถไฟหลวง มีดังนี้

  • ราชพิธีบรมราชาภิเษก (พ.ศ. 2468 ,ขาว-ดำ, เงียบ, 10 นาที )ภาพยนตร์ของ “กองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง” ทำขึ้นเพื่อจำหน่ายแก่ผู้สนใจ เก็บไว้เป็นที่ระลึก บันทึกเหตุการณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการบันทึก ภาพยนตร์พระราชพิธีสำคัญตามโบราณราชประเพณีของไทย แสดงพิธีกรรมสำคัญตามลำดับแต่ต้นจนตลอดพระราชพิธี
  • ชมสยาม (พ.ศ. 2473 ,ขาว-ดำ, เงียบ, 22 นาที )สร้างโดย “กองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง” โดยฝีมือของ หลวงกลการเจนจิต(เภา วสุวัต) ช่างถ่ายหนังสำคัญของสยามในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นภาพยนตร์แนะนำประเทศสยามต่อชาวต่างชาติ ทำนองส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นตัวอย่างให้เห็นการมองตนเองและอวดตนเองต่อชาวต่างชาติ
  • นางสาวสุวรรณ (อังกฤษ: Miss Suwanna of Siam) เป็นภาพยนตร์ใบ้ แนวรักใคร่ ค.ศ.1923 ขนาดสามสิบห้ามิลลิเมตร ความยาวแปดม้วน เขียนบทและกำกับโดย เฮนรี แม็กเร (Henry MacRae) เป็นเรื่องแรกที่ถ่ายทำในประเทศสยาม (ต่อมาคือ ประเทศไทย) โดยฮอลลีวูด ที่ใช้นักแสดงชาวสยามทั้งหมด เริ่มถ่ายทำเมื่อต้นเดือนมีนาคมและสร้างเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน ในปี พ.ศ. 2465 โดยกรมรถไฟหลวงให้ความร่วมมือในการถ่ายทำ หลังจากถ่ายทำเสร็จ นายเฮนรี แม็กเร ได้มอบฟิล์มภาพยนตร์ให้แก่ กรมรถไฟหลวงไว้ 1 ชุด เป็นฟิล์มขนาด 35 มิลลิเมตร มีความยาว 8 ม้วน ต่อมาบริษัทสยามภาพยนตร์ได้ขออนุญาตกรมรถไฟหลวง นำมาฉายให้ประชาชนเป็นครั้งแรกมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 เพื่อเก็บเงินรายได้บำรุงสภากาชาดสยาม
  • โชคสองชั้น (Double Luck)เป็นภาพยนตร์ไทยเงียบ (Silent Film) สร้างโดยคนไทยสำเร็จเป็นครั้งแรกในนาม กรุงเทพภาพยนตร์ บริษัท (ต่อมาคือ ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง) ของ มานิต วสุวัต ร่วมกับคณะหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์ และศรีกรุง ถ่ายทำระบบ 35 มม. ขาวดำ จำนวน 6 ม้วน ประมาณ 90 นาที ฉายครั้งแรกเมื่อ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร โดยจ้างทีมงานบางส่วน และอุปกรณ์การถ่ายทำ จาก”กองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง

ทรัพยากรปิโตรเลียมบนบก[แก้]

ในปี พ.ศ. 2461 ชาวบ้านฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พบน้ำมันไหลขึ้นมาบนผิวดิน บริเวณบ่อต้นขาม ต่างเล่าลือกันว่าเป็นน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ นำมาใช้ทาตัวเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ เมื่อเรื่องนี้ทราบถึงเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ จึงสั่งให้ขุดบ่อกักน้ำมันไว้ เรียกกันว่า “บ่อเจ้าหลวง” หรือ “บ่อหลวง” ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งขณะนั้นทรงเป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ทรงทราบถึงการค้นพบน้ำมันที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จึงติดต่อว่าจ้าง “Mr. Wallace Lee” นักธรณีวิทยาชาวอเมริกัน ให้สำรวจน้ำมันและถ่านหินเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถจักรไอน้ำในกิจการรถไฟ ระหว่างปี พ.ศ. 2464 – 2465 นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้มีการใช้วิธีการทางด้านธรณีวิทยาในการสำรวจ แร่เชื้อเพลิง และปิโตรเลียมอย่างแท้จริง

ส่งเสริมการท่องเที่ยว[แก้]

ริเริ่มขึ้นโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงส่งเรื่องราวเมืองไทยไปเผยแพร่ในสหรัฐฯ ต่อมาในปี 2467 ได้จัดตั้งแผนกโฆษณาของกรมรถไฟหลวงขึ้น ทำหน้าที่โฆษณาและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางมาประเทศไทย ต่อมาเมื่อทรงเลื่อนตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม งานด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ย้ายไปอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมตามไปด้วย ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน

โรงแรม[แก้]

กรมรถไฟหลวงยังนับเป็นผู้บุกเบิกสำคัญ เช่น โรงแรมรถไฟหัวหิน ซึ่งปัจจุบัน คือ โรงแรมโซฟิเทลเซ็นทรัลหัวหินรีสอร์ท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2465 มีเอกลักษณ์โดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมยุโรป ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นโรงแรมตากอากาศที่หรูหราที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงนั้น โรงแรมรถไฟอีกแห่ง คือ โฮเต็ลวังพญาไท ซึ่งปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า นับว่าหรูหรามาก เนื่องจากดัดแปลงจากพระราชวังพญาไทมาเป็นโรงแรมเมื่อปี 2469 นอกจากนี้ ยังมีโรงแรมราชธานีที่สถานีรถไฟหัวลำโพง เปิดดำเนินการเมื่อปี 2470 นับเป็นโรงแรมที่ทันสมัยระดับแนวหน้าของไทย มีบริการอาหารแบบตะวันตก ห้องพักทุกห้องมีห้องน้ำในตัว มีทั้งน้ำร้อนและน้ำเย็น ไฟฟ้า พัดลม และโทรศัพท์ ฯลฯ

บุคคลากร[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน นับแต่แรกที่ทรงปฏิบัติราชการในกรมรถไฟ พระองค์ทรงฝึกให้ข้าราชการไทย โดยการแนะนำสั่งสอนด้วยพระองค์เอง และโดยจัดให้มีนักเรียนสอบชิงทุนของกรมรถไฟหลวงออกไปศึกษาวิชาการรถไฟและการพาณิชย์ ณ ต่างประเทศ เพื่อเข้ามาสวมตำแหน่งสำคัญๆ แทนชาวต่างประเทศดั่งที่เคยจำเป็นต้องจ้างมาใช้แต่ก่อน ได้ทรงเริ่มนโยบายนี้เมื่อต้นปี พ.ศ. 2461 และรุ่นสุดท้าย ได้ส่งไปในปี พ.ศ. 2466 รวมเป็นนักเรียน 51 คน นโยบายนี้ได้รับผลอันสมบูรณ์ราวต้นปี พ.ศ. 2475 นอกจากนั้น ยังทรงรับโอนนักศึกษาไทยที่ศึกษาอยู่ ณ ต่างประเทศแล้วของกรมกองอื่นๆ มาเป็นนักเรียนใช้ทุนของกรมรถไฟหลวงก็อีกหลายนาย ทรงเป็นผู้ก่อกำเนิดชักนำให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อยในกรมรถไฟมีความรู้สึกฉันมิตรซึ่งกันและกัน ร่วมมือฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นไปเยี่ยงนายกับบ่าว ความร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของข้าราชการกรมรถไฟนับแต่สมัยพระองค์ทรงบังคับบัญชา เป็นผลความเจริญแก่กรมรถไฟมาจนทุกวันนี้ และกรมรถไฟหลวงยังเป็นแหล่งผลิตวิศวกรไปยังงานก่อสร้างที่สำคัญของประเทศอีกหลายหน่วยงาน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Jump up พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
  2. Jump up 117 ปี กับภารกิจฟื้นฟูความยิ่งใหญ่ รฟท. ยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์
  3. Jump up ข้อมูลสำคัญของรัฐวิสาหกิจไทย (State Enterprise Key Indicators : SEKI) ฉบับที่ 2
  4. Jump up รอยทางจาก “กรมรถไฟ” สู่… “แอร์พอร์ต เรล ลิงก์”
  5. Jump up สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๔ / เรื่องที่ ๗ รถไฟ / ประวัติการรถไฟในประเทศไทย
  6. Jump up พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงเศรษฐการ พุทธศักราช 2476
  7. Jump up ประวัติกระทรวงคมนาคม
  8. Jump up กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 38 (พ.ศ. 2491) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 (ว่าด้วยเครื่องแบบพนักงานกรมรถไฟ)
  9. Jump up กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 44 (พ.ศ. 2494) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 (ว่าด้วยเครื่องแบบพนักงานกรมรถไฟ)
  10. Jump up พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494
  11. Jump up [1]
  12. Jump up [2]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

Leave a comment